Last updated: 6 เม.ย 2566 | 550 จำนวนผู้เข้าชม |
ที่ยันเท้าออกวิ่ง (บล็อกสตาร์ท,สตาร์ทติ้งบล็อค)
จะต้องใช้ที่บล็อคสตาร์ทเพื่อออกวิ่งในการแข่งขันกรีฑาประเภทลู่ทุก ประเภทในระยะทางไม่เกิน 400 เมตร และ 400 เมตรด้วย (รวมทั้งผู้วิ่งไม้แรกของวิ่งผลัด4×100เมตร วิ่งผลัดผสมและวิ่ง 4 x 400 เมตร) และจะต้อง ไม่ใช้สำหรับการแข่งขันกรีฑาประเภทอื่น ๆ และเมื่อติดตั้งวางบนช่องแล้ว ต้องไม่ให้ส่วนใดๆ ของที่ยันเท้าล้ำเลยเส้นปล่อยตัว หรือยืนล้ำเข้าไปในช่องวิ่งอื่น ที่ยันเท้าต้องมีข้อมูลตรงตามข้อกำหนด
โครงสร้างทั้งหมดของ บล็อกสตาร์ท ต้องมั่นคงแข็งแรง และต้องไม่ทำให้นักกีฬาได้เปรียบคนอื่นโดยไม่ยุติธรรม ต้องตรึงติดแน่นกับลู่วิ่งด้วยตะปูหรือสลักที่ตอกยึดในลักษณะ ที่สร้างความเสียหาย แก่ช่องวิ่งน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้และต้องจัดวางเพื่อให้ เคลื่อนย้ายได้ง่ายและรวดเร็ว จำนวน ขนาดความหนา และความยาวของ ตะปูหรือสลักที่ยึดที่ยันเท้าขึ้นอยู่กับโครงสร้างของช่องวิ่ง ที่ยันเท้าต้องมีที่ ยึดแน่นและไม่มีการขยับเขยื้อนในระหว่างการออกวิ่งจริง เมื่อนักกีฬาใช้ที่ยันเท้าของตนเอง ที่ยันเท้านั้น ๆ ต้องเป็นไป ตามข้อกำหนด ที่กล่าวข้างต้น อาจจะมีรูปแบบ หรือโครงสร้างใดก็ได้โดยมีข้อแม้ว่าที่ยันเท้าเหล่านั้นไม่ขัดขวางการวิ่งของคนอื่น
เมื่อคณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดที่อุปกรณ์กีฬาบล็อคสตาร์ทไว้ให้นักกีฬา จะต้องให้ตรงตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ บล็อคสตาร์ทต้องประกอบด้วยแผ่นรองเท้าสองชิ้นเพื่อให้นักกีฬาวางเท้า ยันในตำแหน่งการเริ่มปล่อยตัว แผ่นรองเท้าต้องติดตั้งบนกรอบที่แข็งแรง ซึ่งต้องไม่ขัดขวางเท้าของนักกีฬา ทุกกรณีเมื่อออกจากวิ่งจากที่ยันเท้าแผ่น รองเท้าต้องลาดเอียงเพื่อให้เหมาะกับตำแหน่งการออกตัวของนักกีฬาอาจจะแบนราบหรือโค้งเว้าบ้างก็ได้ พื้นผิวของแผ่นรองรับเท้าจะต้องรับกับ ตะปรองเท้าที่นักกีฬาสวมใส่ จะโดยการเจาะช่องหรือร่องตามบริเวณ ผิวหน้าแผ่นรองรับเท้า หรือโดยใช้วัสดุที่เหมาะสมกับส่วนผิวหน้าของแผ่น รับรองเท้าเพื่อให้ตะปูของรองเท้าปักยึดก็ได้ (เพื่อให้ใช้วางรองเท้าวิ่งที่มีตะปู ได้) การติดตั้งแผ่นรองรับเท้าบนกรอบอย่างมั่นคง แข็งแรงนั้น และอาจ ทำให้ปรับได้ด้วย แต่ต้องไม่ทำให้เกิดการขยับเขยื้อนในระหว่างการออกวิ่งจริงในทุกกรณี แผ่นรองรับเท้าจะปรับเลื่อนไปข้างหน้าหรือข้างหลังให้ กว้างหรือแคบได้ โดยให้สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ตะปูปรับเปลี่ยนต้องติดตรึง ให้แน่นด้วย สลักยึดที่มั่นคง หรือด้วยกลไกการติดล็อคซึ่งนักกีฬาสามารถ ใช้ได้อย่างง่ายๆ และรวดเร็ว และการแข่งขันกรีฑาระดับอื่นๆ ที่ต้องบันทึกเป็นสถิติโลก จะต้องเชื่อมต่อวงจรของบล็อคสตาร์ทกับอุปกรณ์ควบคุม
การออกตัวผิดกติกาที่ รับรองโดย IAAF ผู้ปล่อยตัว และหรือ ผู้เรียกตัวนักกีฬากลับที่รับผิดชอบ จะต้องสวมหูฟัง เพื่อให้ได้ยินสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์ดังกล่าว ที่สามารถ จับการออกตัวผิดกติกาได้ (ตัวอย่างเช่น เวลาปฏิกิริยา ของการออกตัว น้อย กว่า 100/1000–0.100 ของวินาที) ทันทีที่ผู้ปล่อยตัว และหรือผู้เรียกตัว นักกีฬากลับ ได้ยินเสียงสัญญาณ และถ้ายิงปืนแล้วหรืออุปกรณ์ควบคุมการ ออกตัวผิดกติกาได้ทำงานแล้ว จะต้องมีการเรียกตัวนักกีฬากลับ และผู้ปล่อย ตัวต้องรีบตรวจสอบเวลาปฏิกิริยาของอุปกรณ์ควบคุมการออกตัวผิดกติกาทันทีเพื่อยืนยันว่านักกีฬาคนใดบ้างที่ออกตัวผิดกติกา (ใครทำผิดกติกา)] ขอ แนะนำให้ใช้ระบบนี้ทุกครั้งสำหรับการแข่งขันกรีฑาในระดับอื่นๆ ทั้งหมด
6 เม.ย 2566
18 มี.ค. 2566
4 เม.ย 2566